วันอังคารที่ 18 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2557

การตั้งนามเรียกขานของเครื่องบินญี่ปุ่น ช่วง ปี 1920-1945


การตั้งนามเรียกขานของอากาศยานญี่ปุ่นในช่วง 1920-1945
ประเทศญี่ปุ่นประสบความสำเร็จในการสร้างอากาศยานได้เองในช่วงปี คศ. 1927 และใช้เวลาไม่นานในการพัฒนาต่อยอด จากการสร้างตามแบบที่ซื้อลิขสิทธิ์มาจากต่างประเทศ เป็นการออกแบบและผลิตเป็นอุตสาหกรรมใหญ่ โดยบริษัทต่างๆ ในประเทศญี่ปุ่นเอง ซึ่งเป็นที่ทราบดีอยู่ว่า อากาศยานของญี่ปุ่นบางแบบมีสมรรถนะทัดเทียม หรือ เหนือกว่า อากาศยานของประเทศในกลุ่ม ยุโรป หรือ อเมริกา เลยทีเดียว โดยมีหลากหลายบริษัท ออกแบบ และ ผลิต ป้อนให้กับ ทหาร บก เรือ และ บริษัทเอกชน เช่น สายการบิน และ หนังสือพิมพ์ ในประเทศ โดยมีการเรียกชื่อ และ แบบ อากาศยานที่มีลักษณะเฉพาะตัว จนเป็นที่สับสนของผู้ที่ไม่ทราบวิธีการเรียกชื่อ และ กำหนดแบบของอากาศยานญี่ปุ่น จนเมื่อเกิดสงครามฝ่ายสัมพันธมิตรต้องกำหนดชื่อขึ้นมาเองเพื่อความชัดเจน
การกำหนด แบบ และเรียกขานนามอากาศยานของญี่ปุ่นนั้นช่วงแรกกำหนดไว้ 3 รูปแบบ โดย แบ่งเป็น 1. ตามปีที่เข้าประจำการ 2. ตาม กองทัพบก 3.ตาม กองทัพเรือ โดยแบบเรกจะใช้เป็นชื่อตามเอกสารของราชการ ซึ่งสองแบบหลังเป็นการเรียกกันใน กองทัพบก และ กองทัพเรือ (ตอนนั้นญี่ปุ่นยังไม่มีกองทัพอากาศ) มันกลายเป็นความยุ่งยาก และ ซ้ำซ้อนในการกำหนดแบบอากกาศยาน ของพันธมิตร พวกเขาจึงกำหนดชื่อภาษาอังกฤษขึ้นมาใช้เอง และเป็นแบบที่คุ้นหูกว่าสำหรับชนรุ่นหลัง สงคราม และ เป็นเรื่องสับสนหากเรียกชื่อ บ. ญี่ปุ่นตามแบบ ราชการญี่ปุ่นในยุคนั้น เราจะมาทำความเข้าใจในการเรียกชื่ออากาศยานตามแบบราชการญี่ปุ่นในยุคนั้นกัน
รูปแบบในการตั้งนามเรียกขานตาม ปี ที่เข้าประจำการ ก็คือ การตั้งนามเรีนกขานตาม ปี ศักราช ของญี่ปุ่น (ไม่ใช้ปีของจักรพรรดิ์ เช่น ปีไทโช หือ โชหว่ะ และ ฯลฯ นะครับ) ศักราชญี่ปุ่นเป็นปีตามความเชื่อในการก่อตั้งประเทศ ซึ่งในปี 2014 นี้ก็จะเท่ากับ ปี 2674 ของศักราชญี่ปุ่น หมายถึงชาวญี่ปุ่นเชื่อว่ามีประเทศมา 2674 ปีแล้ว ซึ่งจะตั้งชื่อตามเลขหลัง เช่น เครื่องบินที่เข้าประจำการในปีญี่ปุ่นที่ 2597 (ตรงกับปีค.ศ.1937) จะใช้ระหัส 97 เป็นนามเรียกขาน และ จำแนกไปตามประเภทของเครื่องบิน ไม่ว่าจะเป็น เครื่องบินขับไล่ ทิ้งระเบิด ตรวจการณ์ ฯลฯ กำกับไว้ด้วยเหล่าทัพอีกที่หนึ่ง เช่น กองทัพบก และ กองทัพเรือ โดยใช้คำว่า “ชิกิ “ หรือ ไทป์ (TYPE) ในภาษาอังกฤษกำกับหลังไว้อีกทีหนึ่ง ยกตัวอย่าง เช่น เครื่องบินขับไล่ กองทัพบก แบบ 97 จะออกเสียงแบบญี่ปุ่นว่า “ริคุกุน คิวนานา ชิกิ เซ็นโตกิ” (วางลำดับตามไวยากรญี่ปุ่น) ริคุกุน คือ กองทัพบก(ผมไม่แน่ใจว่าจะมีเสียงอื่นเรียกตัวอักษรคันจินี้หรือเปล่านะครับ) คิว(คิ-ยู) คือ เก้า นานา คือ เจ็ด ชิกิ คือ แบบ เซ็นโตกิ (เซ-อึน โต กิ) คือ เครื่องบิน ค่อสู้ (เครื่องบินขับไล่) หมายความว่า เครื่องบิน ประเภท บ.ขับไล่ ของกองทัพบก ที่เข้าประจำการในปี 2597 ซึ่งเลขอาจ ซ้ำได้ในกรณีมีเครื่องบินประเภทอื่นซึ่งเข้าประจำการในปีเดียวกัน โดยแยกแยะได้จาก ประเภท เช่น บ.ทิ้งระเบิด บ.ฝึก บ.ตรวจการณ์เป็นต้น ซึ่งมีไม่น้อยที่ซ้ำปีกัน แต่ คนละประเภท ดังนั้นการจำแนก บ. ด้วยวิธีนี้จึงต้องดูที่ประเภทเครื่องบินเป็นหลัก รองลงมาก็คือ เหล่าของกองทัพ และ ปีที่เข้าประจำการ แต่เมื่อมาถึงปีที่ 2600 เลขจะถูกลดลงมาใช้เพียง 1 ตัวสุดท้ายในที่นี้คือ คือ 0 “ไรเซ็น” หรือ (ซี่โร่) ในปีนี้มีเครื่องบินเข้าประจำการไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็น เครื่องบินต่อสู้ กองทัพเรือ แบบ 0 (A6M) หรือ ซีโร่ อันโด่งดัง เครื่องบินตรวจการณ์ทะเล กองทัพเรือ แบบ 0 (F1M) รวมไปถึง เครื่องบิน ลาดตระเวนประจำเรือรบ กองทัพเรือ แบบ 0 (E13A) เฉพาะกองทัพเรือก็มีบ.เข้าประจำการณ์ในปีนี้ที่ยกตัวอย่างมาแล้ว 3 แบบ ทำให้เกิดความสับสนอย่างมาก ในการเรียกชื่อของผู้ที่ไม่ทราบที่มาทั้งหมดในการเรียกชื่อ เป็นที่มาของการถกเถียงกันในหลายกรณี เช่น เคยมีการถกเถียงกันว่า ทร.ไทยเคยมี “ซีโร่”และเคยมีฐานบินที่สนามบินน้ำ นนทบุรี ซึ่งหมายถึง เครื่องบิน แบบ (AICHI E-13A) ซึ่งเป็น บ. ลาดตระเวนที่ ทร. ซื้อจากญี่ปุ่นในปี 1944 จำนวน 3-4 ลำ (บ้างว่า 6 ลำ แต่ หลักฐานไม่ชัดเจน) แต่มีความเข้าใจคลาดเคลื่อนจาก บ. แบบนี้เป็น MITSUBISHI A-6M (ซีโร่) ที่เป็นที่คุ้นหูมากกว่า และ สามารถนึกได้ทันที่ที่ได้ยินว่า “ซีโร่”นอกจากนั้นยังมีการ กำหนดระหัสต่อท้าย ชื่ออากาศยานไปตามการพัฒนาในลำดับต่างๆ โดยใช้ อักษรคันจิ เช่น การพัฒนาลำดับที่ 1 คือ โค (ko) หรือ ไค (kai) ลำดับ 2 คือโอซึ (otsu) และ ลำดับ 3 คือ เฮ-อิ (hei) ซึ่งญี่ปุ่นใช่รูปแบบนี้มาตั้งแต่ต้นปี 1920
ในส่วนของกองทัพบกแม้จะใช้การเรียกแบบเป็นทางการเช่นเดียวกับ กองทัพเรือ แต่ จะมี อีกรูปแบบการกำหนดชื่อ บ. ซึ่งจะกระชับ และ สั้นกว่า โดยเริ่มใช้ในปี 1933 รูปแบบนั้นก็คือ กอรกำหนดระหัสด้วยคำว่า “คิ” (ki) ออกเสียงว่า คิ นะครับ ไม่ใช่ “ไค” (เหมือนเรือดำน้ำ ออกเสียงว่า “อิ” ไม่ใช่ “ไอ” เพราะตัว ไอ ในภาษาอังกฤษถูกกำหนดเป็นอักษร “โรมัญยิ”ออกเสียงว่า “อิ” ในภาษาญี่ปุ่น) กองทัพบกกำหนดตัวอักษร คิ ไว้หน้า หมายเลขของ บ. ของตน ตามลำดับที่เข้าประจำการ บ. ที่ใช้นามเรียกขานที่เริ่มด้วย คิ ก็เช่น คิ 27 คิ 43 คิ 44 คิ 84 คิ 46 ฯลฯ ซึ่งจะใช้ควบคู่ไปกับ แบบ ที่ใช้ในราชการ ยกตัวอย่างเช่น เครื่องบิน ขับไล่ กองทัพบก แบบ 1 (ศักราชญี่ปุ่นที่ 2001) คิ 43 แต่ เพื่อให้กระชับขึ้นจึงเรียกกันเองใน กองทัพบก ว่า คิ-43 เป็นต้น และเมื่อมีการพัฒนาที่มีการเปลี่ยนแปลงของรูปทรง และ สมรรถนะไปอย่างมาก ก็จะใช้หมายเลข โรมัญ ต่าท้าย เช่น I II III และ IV หรือ ใช้แค่คำว่า “ไค” (kai) แล้ว การดัดแปลงเล็กๆน้อยๆที่รองลงมาจากรุ่นหลัก ก็ใช้ โค โอซึ และ เฮย์ ตามลำดับซึ่งจะตรงกับลักษณะของตะวันตก คือ “เออรี่,มิด,เลท” รวมทั้งได้มีการเพิ่มชื่อ ฉายา ต่อท้าย คล้ายกับทางตะวันตกไว้ด้วย โดยเริ่มใช้ในปี 1942 เช่น ฮายาบูซะ ฮายาเตะ โชกิ หรือ โทริว และ ฯลฯ เช่น คิ-43 ฮายาบูซะ คิ-44 โชกิ คิ-84 ฮายาเตะ เป็นต้น
ต่อมาในตอนหลัง จะมีการเรียกชื่อ บ. ของกองทัพเรือ ที่ต่างออกไปอีก (คงเห็นทบ.เรียกง่ายขึ้นเลยเอาตามมั้ง) โดยใช้ตัวอักษร “โรมัญยิ” หรือ ภาษาอังกฤษ เป็นตัวย่อแสดงข้อมูลของ บ. ที่จะตั้งชื่อ อย่างเช่น A = บ.ขับไล่ที่ใช้บนเรือบรรทุกบ. B = บ.ทิ้งระเบิดที่ใช้บนเรือบรรทุกบ. D = บ.โจมตีดำดิ่งทิ้งระเบิดประจำเรือบรรทุกบ. G = บ.ทิ้งระเบิดประจำฐานบินบนบก J = บ.ขับไล่ประจำฐานบินบนบก N = บ.ขับไล่ติดทุ่นลอยน้ำ ตามด้วย เลขลำดับ ต่อด้วย ตัวย่อของบริษัทผู้ผลิต เช่น M = มิตซูบิชิ K = คาวานิชิ A = ไอชิ Y = โยโกซึกะ เป็นต้น จากนั้นจึงต่อท้ายด้วย เลขลำดับในการพัฒนา 1,2,3 ตามลำดับ และ หากมีการดัดแปลง เล็กๆน้อย ก็จะมีการเพิ่ม หมายเลข โมเดล (model) ลงไปอีก ตกตัวอย่างเช่น บ.แบบ A-6M2 MODEL 22 TYPE 0 หมายถึง เครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกบ. แบบที่ 6 ของบริษัท มิตซึบิชิ พัฒนาลำดับที่ 2 รูปแบบ 22 ประจำการปีศักราชญี่ปุ่นที่ 2000 เมื่อมีการดัดแปลงไปเรื่อยๆก็เปลี่ยนลำดับเลข และ รุ่น ไปเป็น A6M3 MODEL 32 A6M5 MODEL 52 เป็นต้น ส่วนรุ่น A,B,C นั้นคือการที่พันธมิตร และ สากลเรียก ซับไทป์ ในยุคหลังสงครามเพื่อความเข้าใจง่าย นอกจากนี้ยังมีการยอมรับการเรียกชื่อ ฉายาเหมือน บ. ของ ทบ. (ยังเถียงกันอยู่ว่าใครก๊อปใคร) เช่น เทนซาน,ชิเดน,ไรเดน และ ฯลฯ ส่วนชื่อเล่นที่เป็นภาษาอังกฤษนั้นขออนุญาติไม่กล่าวถึงในที่นี้ เพราะเป็นการเรียกของพันธมิตรเพื่อให้ง่ายต่อการจำแนก และ ใช้เป็นระหัสเพื่อความเข้าใจกันเอง

Spetsnaz 21

ขอบคุณ ข้อมูล Mr. ITO YOSHIYATSU
 http://ww2total.com/WW2/Weapons/War-Planes/Fighter-Planes/Japanese/Ki-43-Hayabusa/images/oscar-007-px800.jpg

1 ความคิดเห็น:

  1. แก้ ที่พิมพ์ผิดครับ

    ตกตัวอย่างเช่น บ.แบบ A-6M2 MODEL 22 TYPE 0 หมายถึง เครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกบ. แบบที่ 6 ของบริษัท มิตซึบิชิ พัฒนาลำดับที่ 2 รูปแบบ 22 ประจำการปีศักราชญี่ปุ่นที่ 2000 

    แก้เป็น

    ตกตัวอย่างเช่น บ.แบบ A-6M2 MODEL 22 TYPE 0 หมายถึง เครื่องบินขับไล่ประจำเรือบรรทุกบ. แบบที่ 6 ของบริษัท มิตซึบิชิ พัฒนาลำดับที่ 2 รูปแบบ 22 ประจำการปีศักราชญี่ปุ่นที่ 2600

    ตอบลบ